Translate

การดูแลทารกและคุณแม่หลังคลอด

                                                   การดูแลทารกและคุณแม่หลังคลอด


                                                            

ทุกวันนี้จะมีคุณพ่อ-คุณแม่มือใหม่ ออกมาเรื่อยๆซึ่งบางคู่ถ้ามีคนช่วยเลี้ยงก็สบายไป
แต่ถ้าไม่มีก็เหนื่อย เพราะสังคมทุกวันนี้หาเช้ากินค่ำเยอะ ดังนั้นบทความบทนี้ อาจจะเป็น
ประโยชน์แก่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไม่มากก็น้อย


  การดูแลทารกประจำวัน
 การอาบน้ำ : อาบด้วยน้ำอุ่น ควรอาบเสร็จภายใน 5-7นาที ในที่ลมไม่โกรก อาบวันละ 2 ครั้ง และสระผมวันละครั้ง ไม่ควรอาบน้ำ ทันที หลังให้นม

การขับถ่าย : การถ่ายปัสาวะ หลังถ่ายให้เปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง ถ้าปล่อยไว้นานทารกจะตัวเย็น

การถ่ายอุจจาระ ทารกที่กินนมแม่จะถ่ายบ่อย มีสีเหลือง จะมีเม็ดเล็กๆคล้ายเม็ดมะเขือ เพราะนมแม่ย่อยง่าย ช่วยระบายท้อง

 การทำความสะอาดก้น เช็ดด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด เช็ดจากบนลงล่าง ห้ามเช็ดกลับไปกลับมา

 การดูแลสะดือทารก : สะดือจะหลุดภายใน 7 - 14 วัน ดูแลให้โคนสะดือ และสะดือ แห้ง เสมอ เช็ดด้วยไม้พันสำลีชุบแอลกอฮอล์ วันละ 3 ครั้ง เมื่อสะดือใกล้จะหลุดจะมีเลือดออก ห้ามใช้แป้งและยาโรยสะดือ

 การให้นมบุตร : ให้ลูกดูดนมแม่ทุก 2 ชั่วโมง ไม่ต้องให้น้ำตาม เพราะนมแม่มีน้ำเพียงพอ   ดูการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 
 
การทำความสะอาดเสื้อ ผ้าอ้อม : ซักด้วยสบู่เด็ก หรือน้ำยาซักผ้าเด็ก ควรแยกซักจากของผู้ใหญ่

ภาวะปกติในทารกแรกเกิด

การสะดุ้งหรือผวา : เวลามีเสียงดัง หรือเวลาสัมผัส แสดงถึงระบบประสาทที่ปกติ จะพบได้ในทารกที่นอนหลับสนิท และจะพบได้จนอายุ 6 เดือน

 การบิดตัว : ทารกคลอดครบกำหนด มีการเคลื่อนไหวเวลานอนคล้ายผู้ใหญ่บิดขี้เกียจ ทารกจะยกแขนเหนือศีรษะ งอเข่า ตะโพก และข้อเข่า และบิดตัว พบได้ในทารกที่ปกติ ไม่ใช่เกิดจากการชักบิดผ้าอ้อม

 การสะอึก : เกิดจากทารกดูดนมมาก และเร็ว ทำให้กระเพาะอาหารขยายใหญ่ ดันกระบังลม ทำให้สะอึก วิธีแก้ไข โดยไล่ลมในท่านั่ง หรืออุ้มพาดบ่า นาน 5 -5 10 นาที

 การแหวะนม : ทารกแรกเกิด หูรูดกระเพาะอาหารยังทำงานได้ไม่ดี เมื่อดูดนมและดูดกลืนอากาศเข้าไป ทำให้แหวะนมหลังให้นม

วิธีแก้ ไล่ลมบ่อยระหว่างให้นมลูก โดยอุ้มให้นั่งหรือ อุ้มพาดบ่าหลังให้นม หรือให้นอนศีรษะสูงเล็กน้อย และนอนตะแคงขวานาน ครึ่งชั่วโมง

ผิวหนังลอก : จะเกิดขึ้นหลังอายุ 1 - 2 วัน จะหายไปราว 2 - 3 วันโดยไม่ต้องให้การรักษา

ลิ้นขาว : ให้มารดาใช้สำลีชุบน้ำต้มสุก พันนิ้วก้อยให้แน่น เช็ดลิ้นทารกวันละครั้ง ห้ามใช้ผ้าอ้อมเปื้อน                         ปัสสาวะเช็ดลิ้น

มีมูกหรือเลือดออกทางช่องคลอด : จะออกใน 3 - 5 วันหลังคลอด และหายไปภายในสองสัปดาห์ เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจากแม่ ที่ผ่านไปยังทารกเมื่ออยู่ในครรภ์ และระดับฮอร์โมนลดลงหลังคลอด

ผื่นผ้าอ้อม : ผิวหนังมีสีแดงหรือตุ่มหนองเล็กๆ เกิดจากการระคายเคือง จากสิ่งของที่มาสัมผัสเช่น ความชื้นจากการสัมผัสปัสสาวะ อุจจาระนานเกินไปหรือการคั่งค้างของน้ำยาซักผ้าอ้อมการป้องกัน ดูแลให้ผิวหนังแห้ง อย่าปล่อยให้แช่ปัสสาวะ อุจจาระ ต้องล้างแล้วเช็ดให้แห้งและเปลี่ยนผ้าอ้อมทันที

การมีจุดขนาดเล็กสีขาวนวล : บริเวณจมูก ริมฝีปากและแก้ม จะหายไปเองหลังคลอด 1 - 2 สัปดาห์

การถ่ายอุจจาระบ่อย : ทารกแรกเกิดที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อาจถ่ายอุจจาระบ่อย กะปริดระปรอย อาจถ่ายอุจจาระได้ถึง 10 - 20 ครั้งต่อวัน เพราะน้ำนมแม่ ย่อยง่ายและมีน้ำนม หลืองเจือปน ซึ่งจะช่วยระบายท้อง

 การไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน : ภายหลังคลอด4สัปดาห์ น้ำนมแม่จะเป็นน้ำนมแท้ ไม่มีน้ำนมเหลืองเจือปน เนื่องจากนมแม้ย่อยง่าย ทำให้เหลือกากน้อย ทารกที่ดูดนมแม่อาจไม่ถ่ายทุกวัน

ท้องผูก : หมายถึงการถ่ายอุจจาระเป็นก้อนแข็งทั้งกอง อาการท้องผูกพบบ่อยในทารก ที่เลี้ยงด้วยนมผสม และชงนมไม่ถูกสัดส่วน อาจจางหรือข้นเกินไป หรือให้นมไม่เหมาะสมกับวัย เช่นให้นมสำหรับเด็กโตแก่ทารก
ที่กล่าวมาทั้งหมดยังเป็นเพียงแค่เริ่มต้นของการเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่  ยังมีการดูแลที่มากไปกว่านี้อีกทุกครั้งที่เกิดปัญหา คุณแม่ต้อง
ใจเย็นๆส่วนคุณพ่อต้องดูแลคุณแม่หาอาหารที่มีประโยชน์มาให้คุณแม่ทาน อาหารที่คุณแม่ทานจะไปเป็นน้ำนมให้ลูกดูดกิน ดังนั้นสาร
อาหารที่คุณแม่ได้ลูกก็จะได้ตาม...

อาหารที่คุณแม่ควรรับประทานช่วงให้นมลูก



เพื่อให้นมแม่มีคุณค่าแก่ลูกมากที่สุดหลังคลอดแม่ควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย คือ มีข้าว เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผักผลไม้ และนมวัวอีกอย่างน้อยวันละ 3 แก้ว เพราะการรับประทานอาหารที่ครบทุกหมู่เหล่านี้ก็เพื่อให้น้ำนมแม่มีสารอาหารต่างๆ ทั้งเกลือแร่และวิตามินต่างๆ ครบถ้วน นอกเหนือจากภูมิต้านทานสำหรับต่อสู้เชื้อโรคต่างๆ ที่มีมากมายโดยที่ไม่พบในนมผสมเลย

ปลา

เป็นที่ทราบกันดีว่าปลาชนิดนี้จะมีกรดไขมันที่เรียกว่า Docosahexaenoic acid หรือ DHA หรือที่เรียกว่าน้ำมันปลา กรดไขมันชนิดนี้จะมีประโยชน์ในการพัฒนาของเซลล์สมองของเด็กและมีผลดีต่ออารมณ์ของตัวคุณแม่ แต่ต้องระวังปลาบางชนิดที่มีสารปรอทเจือปนสูงสำหรับปลาน้ำจืดที่มีโอเมกา 3 สูงได้แก่ ปลาสวายเนื้อขาว และปลาช่อน
ในแม่ที่กินอาหารมังสวิรัติหรือแม่ที่มีภาวะโภชนาการไม่สมบูรณ์ ควรให้เสริมด้วย DHA และ วิตามินรวม 

ผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนย

ผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนยจะมีโปรตีน วิตามินบี วิตามินดี และเป็นแหล่งที่ให้แคลเซี่ยมแก่ร่างกายเพื่อสร้างกระดูกเด็กและ ป้องกันกระพรุนสำหรับตัวคุณแม่ โดยทั่วไปแนะนำให้ดื่มประมาณสามแก้วต่อวัน
  ตอนตั้งท้องคุณแม่ต้องการพลังงานมากขึ้นกว่าปกติวันละ 300 กิโลแคลอรี หลายคนคิดว่าหลังคลอดแล้วร่างกายก็คงกลับไปต้องการพลังงานเหมือนปกติ แต่จริง ๆ ไม่ใช่เลยค่ะเพราะช่วงนี้ คุณแม่ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นจากช่วงท้องอีกเสียด้วยซ้ำ
หลังคลอดร่างกายของคุณแม่ต้องการพลังงานมากกว่าตอนขณะตั้งครรภ์ 500 กิโลแคลอรีต่อวันค่ะ พลังงานที่เพิ่มขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้สร้างน้ำนม และชดเชยพลังงานที่เสียจากการคลอด เพราะฉะนั้นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการนี่แหละค่ะ จะช่วยให้แม่หลังคลอดฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ช่วยซ่อมแซมให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค ลดอาการอ่อนเพลียจากการสูญเสียเลือดและน้ำขณะคลอดได้
          เรามาดูกันว่าอาหารชนิดใดบ้างจะช่วยให้คุณแม่กลับมาสดชื่น ที่สำคัญช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมาตอนหลังคลอดได้ด้วย
โปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินซี
          ที่มา : เกิดจากร่างกายสูญเสียเลือดและน้ำ รวมไปถึงความเครียดและความเมื่อยล้าขณะคลอด
          อาหารแนะนำ : อาหารที่มีโปรตีนและธาตุเหล็กสูง เพื่อช่วยสร้างเม็ดเลือดทดแทนที่ร่างกายต้องสูญเสียไป
          ธาตุเหล็กช่วยบำรุงเลือด ป้องกันภาวะโลหิตจาง ทำให้มีกำลัง ไม่อ่อนเพลีย มีมากในเครื่องในสัตว์ ไข่แดง เนื้อแดง ผักสีเขียวเข้มและงา
          วิตามินซี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงควรกินธาตุเหล็กพร้อมกับผักผลไม้สดที่มีวิตามินซี
น้ำนมน้อย
          ที่มา : ส่วนหนึ่งเกิดจากร่างกายได้รับพลังงานอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ในระยะให้นมลูกพลังงานที่ต้องการเพิ่มขึ้นนั้น ถูกนำมาสร้างเป็นน้ำนม
อาหารแนะนำ : อาหารทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้มีพลังงานเพียงพอเพื่อใช้สำหรับผลิตน้ำนม
          โปรตีน ถ้าร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอก็ทำให้ปริมาณน้ำนมน้อย สำหรับแคลเซียม ซึ่งต้องการเพิ่มขึ้น 1,500 มิลลิกรัมต่อวันเนื่องจากในน้ำนมแม่เฉลี่ย 100 มิลลิลิตรมีแคลเซียม 30 มิลลิกรัม ถ้าแม่ได้แคลเซียมไม่เพียงพอ ระดับแคลเซียมในน้ำนมจะคงอยู่เท่าเดิม โดยการดึงแคลเซียมจากกระดูกแม่มาทดแทน ดังนั้น จึงต้องรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพื่อป้องกันการสูญเสีย แคลเซียมจากกระดูกแม่นั่นเอง เช่น การดื่มนมอย่างน้อยวันละ 12 แก้ว, การรับประทานเต้าหู้หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง หรือปลาที่รับประทานทั้งกระดูกได้จะช่วยเพิ่มแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น
น้ำสะอาด
                                       

          ที่มา : ร่างกายสูญเสียน้ำหรือดื่มน้ำน้อย
          อาหารแนะนำ : ดื่มน้ำเพิ่มขึ้น นอกจากน้ำดื่มแล้ว อาจดื่มน้ำผลไม้สด น้ำสมุนไพร น้ำซุป รวมกันแล้วให้ได้วันละ 8-10 แก้ว แนะนำให้ดื่มน้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่น
          การดื่มน้ำอย่างพอเพียงจะทำให้สดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย ผิวพรรณชุ่มชื้น ช่วยให้การหลั่งน้ำนมดีขึ้น แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่หวานจัด เพราะจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นค่ะ

ใยอาหาร วิตามิน ไขมัน น้ำ
                                           

          ที่มา : การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้ลำไส้บีบตัวช้าลง ดื่มน้ำน้อย และรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
          อาหารแนะนำ : ควรรับประทานผัก ผลไม้ ที่นอกจากจะมีวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ แล้ว ใยอาหารในผักผลไม้ยังช่วยให้การขับถ่ายง่ายขึ้น
          ผักบางชนิดมีฤทธิ์ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี ทำให้สบายตัว ไม่อึดอัดแน่นท้อง และช่วยเพิ่มน้ำนม เช่น ขิง ใบกะเพรา ใบแมงลัก เป็นต้น ในแต่ละวัน ควรรับประทานผักผลไม้หลากหลายสีเพื่อให้ได้แร่ธาตุครบถ้วน
          ควรมีส่วนผสมของน้ำมันในอาหารจานผัก เพื่อที่ร่างกายจะได้ดูดซึมวิตามิน เอ อี ดี เค ได้ดียิ่งขึ้น
          อย่าลืมดื่มน้ำให้ได้วันละ 8- 10 แก้วนะคะ น้ำช่วยให้อุจจาระมีความอ่อนนุ่ม ขับถ่ายง่าย

เจ็บแผลผ่าตัดหรือที่ฝีเย็บ : โปรตีน วิตามินซี
          ที่มา : ปกติการคลอดบุตรทำให้ฝีเย็บแยกจากกัน แผลที่ฉีกขาดหรือแผลที่เย็บมักมีการบวมแดง เนื่องจากผิวหนังดึงรั้งกันทำให้เจ็บแผล การกินอาหารโปรตีนสูงจะช่วยสมานแผลได้เร็ว
          อาหารแนะนำ : การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงๆ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง เต้าหู้ ทำให้ร่างกายสามารถปรับคืนสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะโปรตีนซึ่งเป็นสารอาหารหลักที่ได้จากเนื้อสัตว์ ทำหน้าที่ช่วยในการส่งเสริมภูมิคุ้มกัน สร้างเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ส่วนวิตามินซีจากผักผลไม้ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อโปรตีน และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เมื่อแผลหายเร็ว อาการเจ็บแผลก็จะลดน้อยลง

ผมร่วง : แร่ธาตุ ไขมัน
          ที่มา : ผมร่วงอาจเกิดจากภาวะเครียด การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของฮอร์โมนช่วงหลังคลอด ทำให้เส้นผมหยุดเจริญเติบโตชั่วคราว หรือการรับประทานอาหารไม่สมดุลก็ทำให้เกิดอาการนี้ได้
          อาหารแนะนำ : ควรรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี ธาตุเหล็ก แมงกานีส กำมะถัน ไอโอดีน ไบโอติน โอเมก้า 3 เพิ่ม อาหารที่มีประโยชน์กับเส้นผม ได้แก่ หอยนางรม อาหารทะเล ปลา ตับสัตว์ ไข่แดง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวซ้อมมือ แครอต หัวปลี ถั่วลิสง เมล็ดทานตะวัน มะพร้าว มะตูม คะน้า กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กล้วย สับปะรด องุ่น ส้ม สาหร่ายทะเล
ปวดเมื่อย : แคลเชียม เกลือแร่ วิตามินบี
          ที่มา : อาจเนื่องมาจากระหว่างการคลอดมีการบิดเกร็ง หรืออยู่ในท่าเดียวนานๆ การให้นมลูกอาจทำให้ต้องอุ้มลูกเกิดการเมื่อยล้า หรือกลัวลูกตื่นไม่กล้าขยับตัว ภาวะเครียดก็ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้
          อาหารแนะนำ : การกินอาหารโปรตีน ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อแดง ทำให้ได้แคลเซียมและวิตามินบี
          เมื่อกล้ามเนื้อมีการหดหรือเกร็ง แคลเซียมจะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว วิตามินบีทำให้ปลายประสาททำงานได้ดี ส่วนการดื่มน้ำสมุนไพรต่างๆ เช่น น้ำขิง น้ำตะไคร้ หรือการปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศ สมุนไพร จะช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ทำให้กระปรี้กระเปร่า ลดอาการเครียด กระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตให้เดินสะดวกและรักษาอุณหภูมิในร่างกาย
          อาหรทุกอย่างที่จะนำมารับประทานนั้น จะต้องผ่านการทำความสะอาดให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
ของดิบก็ต้องให้สุก เพื่อความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อย
                                           


ประเภทอาหารทีต้องห้ามทานหลังคลอดบุตร

·         อาหารแปรรูปทั้งหลาย รวมไปถึงอาหารประเภท ขนมเค้ก เบเกอรี่ ต่างๆ ซึ่งมีสัดส่วนไขมันค่อนข้างสูง ทำให้เอ็นไซม์ทำงานลดลง อีกทั้งรบกวนการสร้างไขมันที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก และมีผลต่อคุณภาพของน้ำนมแม่ที่จะให้ลูกด้วย
·         ผักบางชนิดที่มีแก๊สมาก เช่น กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ หากกินมากไปก็อาจจะทำให้ลูกท้องอืดแน่นเฟ้อได้เช่นกัน
·         อาหารหมักดองต่างๆ เพราะอาจทำให้ท้องเสียได้ ทางที่ดีควรกินผักผลไม้สดๆ ดีกว่า
·         อาหารที่รสเผ็ดจัด ซึ่งจะต่างจากอาหารที่ประกอบด้วยสมุนไพรที่มีรสร้อน เช่น กะเพรา ขิง พริกไทย ที่ช่วยบำรุงน้ำนม ซึ่งคุณแม่บางท่านอาจเข้าใจผิดคิดว่า ยิ่งกินเผ็ดน้ำนมจะได้ไหลดี ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะอาหาร "เผ็ด" กับ อาหาร "รสร้อน" แตกต่างกัน ดังนั้น เวลากินอาหาร คุณแม่จึงควรระมัดระวัง อย่ากินอาหารที่มีรสเผ็ดมากเกินไป เพราะจะส่งผลให้ลูกรับรสเผ็ดจากน้ำนมแม่ และอาจทำให้ปวดท้องได้เช่นกัน
·         อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา ช็อกโกแลต ฯลฯ เพราะจะส่งผลให้ลูกนอนไม่หลับได้
·         เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะลูกจะได้รับแอลกอฮอล์ผ่านทางน้ำนมและส่งผลด้านลบต่อสมองได้3
คนไทยเราห้ามคุณแม่หลังคลอดทานอาหารที่มีกลิ่นฉุนและรสจัด ซึ่งอาจจะ
ทำให้ทารกท้องเสียได้ครับ

         การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย

                         


ควรสระผมสัปดาห์ละ  2-3     ครั้ง     อาบน้ำอย่างน้อยวันละ
1 ครั้ง และงดเว้นการอาบแช่น้ำ
ช่วงหลังคลอด อวัยวะเพศจะมีแผล   จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ได้ง่าย ดังนั้นควรล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสอวัยวะเพศ ในช่วงที่มีประจำเดือน งดใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ควรเปลี่ยนทันทีที่รู้สึกว่าผ้าอนามัยชุ่ม  หรือเปลี่ยนทุก 3 ชั่วโมงและควรดึงจากทางด้านหน้าไปด้านหลัง ทั้งหมดเพื่อป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอดซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
เต้านม ในช่วงหลังคลอดและให้นมลูกเต้านมจะมีขนาดและน้ำหนักเป็น 3เท่า
ของเต้านมปกติ ทำให้เอ็นที่พยุงเต้านมเกิดการยืด  ดังนั้นควรสวมยกทรงเพื่อช่วย
พยุงไว้ป้องกันการหย่อนยาน  แต่ไม่ควรสวมยกทรงแบบมีโครงเหล็ก เพราะอาจ
จะไปกดทับท่อน้ำนม
การดูแลเต้านมแค่ทำความสะอาดพร้อมการอาบน้ำในแต่ละวันก็เพียงพอ และ
อย่าลืมล้างมือทุกครั้งก่อนที่ จะจับเต้านมและหัวนม ในการให้นมลูก
การมีประจำเดือน  ในช่วงของการให้ลูกกินนมแม่ อาจมีผลทำให้ไม่มีประจำเดือน
ในช่วง 6 เดือนแรก แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่ ประจำเดือนอาจจะมา
ตามปกติภายใน 6 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามแม้จะไม่มีประจำเดือน แต่ร่างกายก็
พร้อมที่จะตั้งครรภ์ได้  ในช่วงนี้การมีเพศสัมพันธ์ควรได้รับการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี
การมีเพศสัมพันธ์   เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูก
ควรงดมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 4-6  สัปดาห์หลังคลอดถ้าหากเลี่ยงไม่ได้ ควรสวม
ถุงยางอนามัยทุกครั้ง  ทั้งยังเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ได้อีกด้วย
ควรรับการตรวจร่างกายช่วง 4-6  สัปดาห์หลังคลอดเพื่อตรวจดูการคืนสภาพของปาก ม ด ลูก แ ล ะอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานและหาความผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อป้องกันและแก้ไขแต่ต้น เช่น มะเร็งปากมดลูก พร้อมให้คำแนะนำการปฏิบัติตนด้านต่างๆเช่น การคุมกำเนิด เป็นต้น

         การคุมกำเนิด


ภายหลังคลอด ควรเว้นการมีบุตรอย่างน้อย 2 ปี เพื่อมีเวลาดูแลบุตรอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งให้ร่างกายและอวัยวะภายในมีช่วงเวลาในการฟื้นฟูอย่างสมบูรณ์เต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง      4-6     สัปดาห์หลังคลอด ควรมีการ
คุมกำเนิดอย่างเหมาะสม ซึ่งมีหลายวิธีทั้งแบบชั่วคราวและถาวรให้เลือกสำหรับ
ผู้ชายและผู้หญิง แบบชั่วคราวสำหรับผู้หญิง ได้แก่ การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด วิธีนี้ผู้ที่ให้ลูกกินนมแม่ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพราะยาคุมบางชนิดอาจทำให้มีน้ำนม
น้อยลง การกินยาคุมกำเนิดให้ได้ผลต้องกินเป็นประจำและตรงเวลา แต่สำหรับผู้ที่
ไม่สะดวกในการใช้ยาคุมแบบกิน การฉีดยาคุมกำเนิดก็นับว่ามีความสะดวกเพราะ
ฉีดเพียงครั้งเดียวสามารถคุมได้ถึง  3 เดือน และไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะลืมกินยา
สำหรับผู้ที่ต้องการคุมแบบชั่วคราวแต่มีระยะเวลานานอาจใช้วิธีคุมโดยการใส่
ห่วงอนามัยที่สามารถคุมได้นาน 3-5 ปี หรือจะใช้การฝังยาคุมกำเนิดก็ได้ ซึ่ง
สามารถคุมได้นานถึง  3-5  ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของห่วงอนามัยและ ยาฝังคุมกำเนิด
สำหรับผู้ชาย การคุมกำเนิดด้วยการสวมถุงยางอนามัย เป็นวิธีที่สะดวก นอกจากจะคุมกำเนิดแล้ว ยังช่วยป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปยังผู้หญิง  และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆเช่น  เอดส์ได้ด้วย


อาการผิดปกติที่ต้องกลับมาพบแพทย์




1.       มีไข้ และมีอาการอักเสบของอวัยวะอื่นร่วมด้วย
2.       ปัสสาวะแสบขัดอาจเกิดจากการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากดูแล
ความสะอาดช่องคลอดและอวัยวะสืบพันธุ์ไม่ดีพอ
3.       ปวดศีรษะบ่อยและเป็นเวลานานอาจเกิดจากความดันโลหิตสูงพักผ่อนไม่
เพียงพอหรือเครียดจากการคลอด
4.       มีเลือดออกทางช่องคลอดส่วนมากจะเกิดจาก
แผลในโพรงมดลูกบริเวณที่รกเกาะเนื่องจากมดลูกหด
รัดตัวไม่ดี หรือมีเศษรกตกค้างในโพรงมดลูก
5.       น้ำคาวปลาผิดปกติ สีไม่จางลง จำนวนไม่ลดลง
มีก้อนเลือดออกมาหรือมีกลิ่นเหม็น
6.       มดลูกเข้าอู่ช้า หลังคลอด 2  สัปดาห์ไปแล้ว
ยังสามารถคลำพบมดลูกทางหน้าท้อง
7.       กรณีผ่าคลอด แผลที่เย็บมีอาการ อักเสบ ปวด
บวม    แดง

หากพบอาการเหล่านี้ให้รีบมาพบแพทย์ อย่าไม่สนใจเพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อ
ทารกน้อยด้วย


การบริหารร่างกายหลังคลอด


ในภาวะปกติร่างกายคนเราควรออกกำลังกายเพื่อให้ระบบต่างๆ  เช่น ปอด หัวใจกล้ามเนื้อ ข้อต่อ การไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดี สำหรับคนที่เพิ่งคลอดบุตรการออกกำลังกายก็ยังจำเป็นเพื่อให้การขับของเสียต่างๆเช่นน้ำคาวปลาเป็นไปโดยสะดวกการเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น     ฝีเย็บ  กล้ามเนื้อในเชิงกรานกล้ามเนื้อหน้าท้องดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การออกกำลังกายของผู้ที่เพิ่งผ่านการคลอดมีข้อควรปฏิบัติคือผู้ที่คลอดทางช่องคลอดควรพักผ่อนร่างกายอย่างน้อย 6-8ชั่วโมงมาแล้วจึงสามารถออกกำลังกายเบาๆได้

ส่วนผู้ที่ผ่าคลอดควรให้ร่างกายพักผ่อน 3-6วันก่อนและต้องงดการออกกำลังกายแบบหักโหมหรือยกของหนักจนกว่าจะพ้นช่วง 6-8 สัปดาห์ไปแล้วข้อควรระวังอย่างยิ่งคือ ห้ามออกกำลังกายในท่านอนคว่ำเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดภาวะลมอุดตันในเลือดได้

ประโยชน์ของการออกกำลังกายหลังคลอด

1.      ทำให้น้ำคาวปลาไหลดี
2.      ทำให้แผลฝีเย็บหายเร็วขึ้น
3.      ทำให้มดลูกมีการบีบตัวและเข้าอู่ได้เร็วขึ้น
4.      ทำให้กล้ามเนื้อเอ็นและข้อต่อต่างๆ   มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นดี
5.     ทำให้กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจทำงานได้ดีขึ้นปอดขยายตัวดีขึ้นและการทำงานของหัวใจ ดีขึ้น
6.       ช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำนม ทำให้มีน้ำนมออกมาเป็นจำนวนมาก
เพียงพอแก่การเลี้ยงดูบุตร
การออกกำลังกายให้ได้ผลดีควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ3วันวันละประมาณ 30 นาที

1 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น