Translate

การดูแลทารกและคุณแม่หลังคลอด

                                                   การดูแลทารกและคุณแม่หลังคลอด


                                                            

ทุกวันนี้จะมีคุณพ่อ-คุณแม่มือใหม่ ออกมาเรื่อยๆซึ่งบางคู่ถ้ามีคนช่วยเลี้ยงก็สบายไป
แต่ถ้าไม่มีก็เหนื่อย เพราะสังคมทุกวันนี้หาเช้ากินค่ำเยอะ ดังนั้นบทความบทนี้ อาจจะเป็น
ประโยชน์แก่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไม่มากก็น้อย


  การดูแลทารกประจำวัน
 การอาบน้ำ : อาบด้วยน้ำอุ่น ควรอาบเสร็จภายใน 5-7นาที ในที่ลมไม่โกรก อาบวันละ 2 ครั้ง และสระผมวันละครั้ง ไม่ควรอาบน้ำ ทันที หลังให้นม

การขับถ่าย : การถ่ายปัสาวะ หลังถ่ายให้เปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง ถ้าปล่อยไว้นานทารกจะตัวเย็น

การถ่ายอุจจาระ ทารกที่กินนมแม่จะถ่ายบ่อย มีสีเหลือง จะมีเม็ดเล็กๆคล้ายเม็ดมะเขือ เพราะนมแม่ย่อยง่าย ช่วยระบายท้อง

 การทำความสะอาดก้น เช็ดด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด เช็ดจากบนลงล่าง ห้ามเช็ดกลับไปกลับมา

 การดูแลสะดือทารก : สะดือจะหลุดภายใน 7 - 14 วัน ดูแลให้โคนสะดือ และสะดือ แห้ง เสมอ เช็ดด้วยไม้พันสำลีชุบแอลกอฮอล์ วันละ 3 ครั้ง เมื่อสะดือใกล้จะหลุดจะมีเลือดออก ห้ามใช้แป้งและยาโรยสะดือ

 การให้นมบุตร : ให้ลูกดูดนมแม่ทุก 2 ชั่วโมง ไม่ต้องให้น้ำตาม เพราะนมแม่มีน้ำเพียงพอ   ดูการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 
 
การทำความสะอาดเสื้อ ผ้าอ้อม : ซักด้วยสบู่เด็ก หรือน้ำยาซักผ้าเด็ก ควรแยกซักจากของผู้ใหญ่

ภาวะปกติในทารกแรกเกิด

การสะดุ้งหรือผวา : เวลามีเสียงดัง หรือเวลาสัมผัส แสดงถึงระบบประสาทที่ปกติ จะพบได้ในทารกที่นอนหลับสนิท และจะพบได้จนอายุ 6 เดือน

 การบิดตัว : ทารกคลอดครบกำหนด มีการเคลื่อนไหวเวลานอนคล้ายผู้ใหญ่บิดขี้เกียจ ทารกจะยกแขนเหนือศีรษะ งอเข่า ตะโพก และข้อเข่า และบิดตัว พบได้ในทารกที่ปกติ ไม่ใช่เกิดจากการชักบิดผ้าอ้อม

 การสะอึก : เกิดจากทารกดูดนมมาก และเร็ว ทำให้กระเพาะอาหารขยายใหญ่ ดันกระบังลม ทำให้สะอึก วิธีแก้ไข โดยไล่ลมในท่านั่ง หรืออุ้มพาดบ่า นาน 5 -5 10 นาที

 การแหวะนม : ทารกแรกเกิด หูรูดกระเพาะอาหารยังทำงานได้ไม่ดี เมื่อดูดนมและดูดกลืนอากาศเข้าไป ทำให้แหวะนมหลังให้นม

วิธีแก้ ไล่ลมบ่อยระหว่างให้นมลูก โดยอุ้มให้นั่งหรือ อุ้มพาดบ่าหลังให้นม หรือให้นอนศีรษะสูงเล็กน้อย และนอนตะแคงขวานาน ครึ่งชั่วโมง

ผิวหนังลอก : จะเกิดขึ้นหลังอายุ 1 - 2 วัน จะหายไปราว 2 - 3 วันโดยไม่ต้องให้การรักษา

ลิ้นขาว : ให้มารดาใช้สำลีชุบน้ำต้มสุก พันนิ้วก้อยให้แน่น เช็ดลิ้นทารกวันละครั้ง ห้ามใช้ผ้าอ้อมเปื้อน                         ปัสสาวะเช็ดลิ้น

มีมูกหรือเลือดออกทางช่องคลอด : จะออกใน 3 - 5 วันหลังคลอด และหายไปภายในสองสัปดาห์ เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจากแม่ ที่ผ่านไปยังทารกเมื่ออยู่ในครรภ์ และระดับฮอร์โมนลดลงหลังคลอด

ผื่นผ้าอ้อม : ผิวหนังมีสีแดงหรือตุ่มหนองเล็กๆ เกิดจากการระคายเคือง จากสิ่งของที่มาสัมผัสเช่น ความชื้นจากการสัมผัสปัสสาวะ อุจจาระนานเกินไปหรือการคั่งค้างของน้ำยาซักผ้าอ้อมการป้องกัน ดูแลให้ผิวหนังแห้ง อย่าปล่อยให้แช่ปัสสาวะ อุจจาระ ต้องล้างแล้วเช็ดให้แห้งและเปลี่ยนผ้าอ้อมทันที

การมีจุดขนาดเล็กสีขาวนวล : บริเวณจมูก ริมฝีปากและแก้ม จะหายไปเองหลังคลอด 1 - 2 สัปดาห์

การถ่ายอุจจาระบ่อย : ทารกแรกเกิดที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อาจถ่ายอุจจาระบ่อย กะปริดระปรอย อาจถ่ายอุจจาระได้ถึง 10 - 20 ครั้งต่อวัน เพราะน้ำนมแม่ ย่อยง่ายและมีน้ำนม หลืองเจือปน ซึ่งจะช่วยระบายท้อง

 การไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน : ภายหลังคลอด4สัปดาห์ น้ำนมแม่จะเป็นน้ำนมแท้ ไม่มีน้ำนมเหลืองเจือปน เนื่องจากนมแม้ย่อยง่าย ทำให้เหลือกากน้อย ทารกที่ดูดนมแม่อาจไม่ถ่ายทุกวัน

ท้องผูก : หมายถึงการถ่ายอุจจาระเป็นก้อนแข็งทั้งกอง อาการท้องผูกพบบ่อยในทารก ที่เลี้ยงด้วยนมผสม และชงนมไม่ถูกสัดส่วน อาจจางหรือข้นเกินไป หรือให้นมไม่เหมาะสมกับวัย เช่นให้นมสำหรับเด็กโตแก่ทารก
ที่กล่าวมาทั้งหมดยังเป็นเพียงแค่เริ่มต้นของการเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่  ยังมีการดูแลที่มากไปกว่านี้อีกทุกครั้งที่เกิดปัญหา คุณแม่ต้อง
ใจเย็นๆส่วนคุณพ่อต้องดูแลคุณแม่หาอาหารที่มีประโยชน์มาให้คุณแม่ทาน อาหารที่คุณแม่ทานจะไปเป็นน้ำนมให้ลูกดูดกิน ดังนั้นสาร
อาหารที่คุณแม่ได้ลูกก็จะได้ตาม...

อาหารที่คุณแม่ควรรับประทานช่วงให้นมลูก



เพื่อให้นมแม่มีคุณค่าแก่ลูกมากที่สุดหลังคลอดแม่ควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย คือ มีข้าว เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผักผลไม้ และนมวัวอีกอย่างน้อยวันละ 3 แก้ว เพราะการรับประทานอาหารที่ครบทุกหมู่เหล่านี้ก็เพื่อให้น้ำนมแม่มีสารอาหารต่างๆ ทั้งเกลือแร่และวิตามินต่างๆ ครบถ้วน นอกเหนือจากภูมิต้านทานสำหรับต่อสู้เชื้อโรคต่างๆ ที่มีมากมายโดยที่ไม่พบในนมผสมเลย

ปลา

เป็นที่ทราบกันดีว่าปลาชนิดนี้จะมีกรดไขมันที่เรียกว่า Docosahexaenoic acid หรือ DHA หรือที่เรียกว่าน้ำมันปลา กรดไขมันชนิดนี้จะมีประโยชน์ในการพัฒนาของเซลล์สมองของเด็กและมีผลดีต่ออารมณ์ของตัวคุณแม่ แต่ต้องระวังปลาบางชนิดที่มีสารปรอทเจือปนสูงสำหรับปลาน้ำจืดที่มีโอเมกา 3 สูงได้แก่ ปลาสวายเนื้อขาว และปลาช่อน
ในแม่ที่กินอาหารมังสวิรัติหรือแม่ที่มีภาวะโภชนาการไม่สมบูรณ์ ควรให้เสริมด้วย DHA และ วิตามินรวม 

ผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนย

ผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนยจะมีโปรตีน วิตามินบี วิตามินดี และเป็นแหล่งที่ให้แคลเซี่ยมแก่ร่างกายเพื่อสร้างกระดูกเด็กและ ป้องกันกระพรุนสำหรับตัวคุณแม่ โดยทั่วไปแนะนำให้ดื่มประมาณสามแก้วต่อวัน
  ตอนตั้งท้องคุณแม่ต้องการพลังงานมากขึ้นกว่าปกติวันละ 300 กิโลแคลอรี หลายคนคิดว่าหลังคลอดแล้วร่างกายก็คงกลับไปต้องการพลังงานเหมือนปกติ แต่จริง ๆ ไม่ใช่เลยค่ะเพราะช่วงนี้ คุณแม่ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นจากช่วงท้องอีกเสียด้วยซ้ำ
หลังคลอดร่างกายของคุณแม่ต้องการพลังงานมากกว่าตอนขณะตั้งครรภ์ 500 กิโลแคลอรีต่อวันค่ะ พลังงานที่เพิ่มขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้สร้างน้ำนม และชดเชยพลังงานที่เสียจากการคลอด เพราะฉะนั้นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการนี่แหละค่ะ จะช่วยให้แม่หลังคลอดฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ช่วยซ่อมแซมให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค ลดอาการอ่อนเพลียจากการสูญเสียเลือดและน้ำขณะคลอดได้
          เรามาดูกันว่าอาหารชนิดใดบ้างจะช่วยให้คุณแม่กลับมาสดชื่น ที่สำคัญช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมาตอนหลังคลอดได้ด้วย
โปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินซี
          ที่มา : เกิดจากร่างกายสูญเสียเลือดและน้ำ รวมไปถึงความเครียดและความเมื่อยล้าขณะคลอด
          อาหารแนะนำ : อาหารที่มีโปรตีนและธาตุเหล็กสูง เพื่อช่วยสร้างเม็ดเลือดทดแทนที่ร่างกายต้องสูญเสียไป
          ธาตุเหล็กช่วยบำรุงเลือด ป้องกันภาวะโลหิตจาง ทำให้มีกำลัง ไม่อ่อนเพลีย มีมากในเครื่องในสัตว์ ไข่แดง เนื้อแดง ผักสีเขียวเข้มและงา
          วิตามินซี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงควรกินธาตุเหล็กพร้อมกับผักผลไม้สดที่มีวิตามินซี
น้ำนมน้อย
          ที่มา : ส่วนหนึ่งเกิดจากร่างกายได้รับพลังงานอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ในระยะให้นมลูกพลังงานที่ต้องการเพิ่มขึ้นนั้น ถูกนำมาสร้างเป็นน้ำนม
อาหารแนะนำ : อาหารทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้มีพลังงานเพียงพอเพื่อใช้สำหรับผลิตน้ำนม
          โปรตีน ถ้าร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอก็ทำให้ปริมาณน้ำนมน้อย สำหรับแคลเซียม ซึ่งต้องการเพิ่มขึ้น 1,500 มิลลิกรัมต่อวันเนื่องจากในน้ำนมแม่เฉลี่ย 100 มิลลิลิตรมีแคลเซียม 30 มิลลิกรัม ถ้าแม่ได้แคลเซียมไม่เพียงพอ ระดับแคลเซียมในน้ำนมจะคงอยู่เท่าเดิม โดยการดึงแคลเซียมจากกระดูกแม่มาทดแทน ดังนั้น จึงต้องรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพื่อป้องกันการสูญเสีย แคลเซียมจากกระดูกแม่นั่นเอง เช่น การดื่มนมอย่างน้อยวันละ 12 แก้ว, การรับประทานเต้าหู้หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง หรือปลาที่รับประทานทั้งกระดูกได้จะช่วยเพิ่มแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น
น้ำสะอาด
                                       

          ที่มา : ร่างกายสูญเสียน้ำหรือดื่มน้ำน้อย
          อาหารแนะนำ : ดื่มน้ำเพิ่มขึ้น นอกจากน้ำดื่มแล้ว อาจดื่มน้ำผลไม้สด น้ำสมุนไพร น้ำซุป รวมกันแล้วให้ได้วันละ 8-10 แก้ว แนะนำให้ดื่มน้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่น
          การดื่มน้ำอย่างพอเพียงจะทำให้สดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย ผิวพรรณชุ่มชื้น ช่วยให้การหลั่งน้ำนมดีขึ้น แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่หวานจัด เพราะจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นค่ะ

ใยอาหาร วิตามิน ไขมัน น้ำ
                                           

          ที่มา : การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้ลำไส้บีบตัวช้าลง ดื่มน้ำน้อย และรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
          อาหารแนะนำ : ควรรับประทานผัก ผลไม้ ที่นอกจากจะมีวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ แล้ว ใยอาหารในผักผลไม้ยังช่วยให้การขับถ่ายง่ายขึ้น
          ผักบางชนิดมีฤทธิ์ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี ทำให้สบายตัว ไม่อึดอัดแน่นท้อง และช่วยเพิ่มน้ำนม เช่น ขิง ใบกะเพรา ใบแมงลัก เป็นต้น ในแต่ละวัน ควรรับประทานผักผลไม้หลากหลายสีเพื่อให้ได้แร่ธาตุครบถ้วน
          ควรมีส่วนผสมของน้ำมันในอาหารจานผัก เพื่อที่ร่างกายจะได้ดูดซึมวิตามิน เอ อี ดี เค ได้ดียิ่งขึ้น
          อย่าลืมดื่มน้ำให้ได้วันละ 8- 10 แก้วนะคะ น้ำช่วยให้อุจจาระมีความอ่อนนุ่ม ขับถ่ายง่าย

เจ็บแผลผ่าตัดหรือที่ฝีเย็บ : โปรตีน วิตามินซี
          ที่มา : ปกติการคลอดบุตรทำให้ฝีเย็บแยกจากกัน แผลที่ฉีกขาดหรือแผลที่เย็บมักมีการบวมแดง เนื่องจากผิวหนังดึงรั้งกันทำให้เจ็บแผล การกินอาหารโปรตีนสูงจะช่วยสมานแผลได้เร็ว
          อาหารแนะนำ : การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงๆ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง เต้าหู้ ทำให้ร่างกายสามารถปรับคืนสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะโปรตีนซึ่งเป็นสารอาหารหลักที่ได้จากเนื้อสัตว์ ทำหน้าที่ช่วยในการส่งเสริมภูมิคุ้มกัน สร้างเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ส่วนวิตามินซีจากผักผลไม้ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อโปรตีน และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เมื่อแผลหายเร็ว อาการเจ็บแผลก็จะลดน้อยลง

ผมร่วง : แร่ธาตุ ไขมัน
          ที่มา : ผมร่วงอาจเกิดจากภาวะเครียด การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของฮอร์โมนช่วงหลังคลอด ทำให้เส้นผมหยุดเจริญเติบโตชั่วคราว หรือการรับประทานอาหารไม่สมดุลก็ทำให้เกิดอาการนี้ได้
          อาหารแนะนำ : ควรรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี ธาตุเหล็ก แมงกานีส กำมะถัน ไอโอดีน ไบโอติน โอเมก้า 3 เพิ่ม อาหารที่มีประโยชน์กับเส้นผม ได้แก่ หอยนางรม อาหารทะเล ปลา ตับสัตว์ ไข่แดง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวซ้อมมือ แครอต หัวปลี ถั่วลิสง เมล็ดทานตะวัน มะพร้าว มะตูม คะน้า กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กล้วย สับปะรด องุ่น ส้ม สาหร่ายทะเล
ปวดเมื่อย : แคลเชียม เกลือแร่ วิตามินบี
          ที่มา : อาจเนื่องมาจากระหว่างการคลอดมีการบิดเกร็ง หรืออยู่ในท่าเดียวนานๆ การให้นมลูกอาจทำให้ต้องอุ้มลูกเกิดการเมื่อยล้า หรือกลัวลูกตื่นไม่กล้าขยับตัว ภาวะเครียดก็ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้
          อาหารแนะนำ : การกินอาหารโปรตีน ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อแดง ทำให้ได้แคลเซียมและวิตามินบี
          เมื่อกล้ามเนื้อมีการหดหรือเกร็ง แคลเซียมจะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว วิตามินบีทำให้ปลายประสาททำงานได้ดี ส่วนการดื่มน้ำสมุนไพรต่างๆ เช่น น้ำขิง น้ำตะไคร้ หรือการปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศ สมุนไพร จะช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ทำให้กระปรี้กระเปร่า ลดอาการเครียด กระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตให้เดินสะดวกและรักษาอุณหภูมิในร่างกาย
          อาหรทุกอย่างที่จะนำมารับประทานนั้น จะต้องผ่านการทำความสะอาดให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
ของดิบก็ต้องให้สุก เพื่อความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อย
                                           


ประเภทอาหารทีต้องห้ามทานหลังคลอดบุตร

·         อาหารแปรรูปทั้งหลาย รวมไปถึงอาหารประเภท ขนมเค้ก เบเกอรี่ ต่างๆ ซึ่งมีสัดส่วนไขมันค่อนข้างสูง ทำให้เอ็นไซม์ทำงานลดลง อีกทั้งรบกวนการสร้างไขมันที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก และมีผลต่อคุณภาพของน้ำนมแม่ที่จะให้ลูกด้วย
·         ผักบางชนิดที่มีแก๊สมาก เช่น กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ หากกินมากไปก็อาจจะทำให้ลูกท้องอืดแน่นเฟ้อได้เช่นกัน
·         อาหารหมักดองต่างๆ เพราะอาจทำให้ท้องเสียได้ ทางที่ดีควรกินผักผลไม้สดๆ ดีกว่า
·         อาหารที่รสเผ็ดจัด ซึ่งจะต่างจากอาหารที่ประกอบด้วยสมุนไพรที่มีรสร้อน เช่น กะเพรา ขิง พริกไทย ที่ช่วยบำรุงน้ำนม ซึ่งคุณแม่บางท่านอาจเข้าใจผิดคิดว่า ยิ่งกินเผ็ดน้ำนมจะได้ไหลดี ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะอาหาร "เผ็ด" กับ อาหาร "รสร้อน" แตกต่างกัน ดังนั้น เวลากินอาหาร คุณแม่จึงควรระมัดระวัง อย่ากินอาหารที่มีรสเผ็ดมากเกินไป เพราะจะส่งผลให้ลูกรับรสเผ็ดจากน้ำนมแม่ และอาจทำให้ปวดท้องได้เช่นกัน
·         อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา ช็อกโกแลต ฯลฯ เพราะจะส่งผลให้ลูกนอนไม่หลับได้
·         เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะลูกจะได้รับแอลกอฮอล์ผ่านทางน้ำนมและส่งผลด้านลบต่อสมองได้3
คนไทยเราห้ามคุณแม่หลังคลอดทานอาหารที่มีกลิ่นฉุนและรสจัด ซึ่งอาจจะ
ทำให้ทารกท้องเสียได้ครับ

         การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย

                         


ควรสระผมสัปดาห์ละ  2-3     ครั้ง     อาบน้ำอย่างน้อยวันละ
1 ครั้ง และงดเว้นการอาบแช่น้ำ
ช่วงหลังคลอด อวัยวะเพศจะมีแผล   จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ได้ง่าย ดังนั้นควรล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสอวัยวะเพศ ในช่วงที่มีประจำเดือน งดใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ควรเปลี่ยนทันทีที่รู้สึกว่าผ้าอนามัยชุ่ม  หรือเปลี่ยนทุก 3 ชั่วโมงและควรดึงจากทางด้านหน้าไปด้านหลัง ทั้งหมดเพื่อป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอดซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
เต้านม ในช่วงหลังคลอดและให้นมลูกเต้านมจะมีขนาดและน้ำหนักเป็น 3เท่า
ของเต้านมปกติ ทำให้เอ็นที่พยุงเต้านมเกิดการยืด  ดังนั้นควรสวมยกทรงเพื่อช่วย
พยุงไว้ป้องกันการหย่อนยาน  แต่ไม่ควรสวมยกทรงแบบมีโครงเหล็ก เพราะอาจ
จะไปกดทับท่อน้ำนม
การดูแลเต้านมแค่ทำความสะอาดพร้อมการอาบน้ำในแต่ละวันก็เพียงพอ และ
อย่าลืมล้างมือทุกครั้งก่อนที่ จะจับเต้านมและหัวนม ในการให้นมลูก
การมีประจำเดือน  ในช่วงของการให้ลูกกินนมแม่ อาจมีผลทำให้ไม่มีประจำเดือน
ในช่วง 6 เดือนแรก แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่ ประจำเดือนอาจจะมา
ตามปกติภายใน 6 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามแม้จะไม่มีประจำเดือน แต่ร่างกายก็
พร้อมที่จะตั้งครรภ์ได้  ในช่วงนี้การมีเพศสัมพันธ์ควรได้รับการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี
การมีเพศสัมพันธ์   เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูก
ควรงดมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 4-6  สัปดาห์หลังคลอดถ้าหากเลี่ยงไม่ได้ ควรสวม
ถุงยางอนามัยทุกครั้ง  ทั้งยังเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ได้อีกด้วย
ควรรับการตรวจร่างกายช่วง 4-6  สัปดาห์หลังคลอดเพื่อตรวจดูการคืนสภาพของปาก ม ด ลูก แ ล ะอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานและหาความผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อป้องกันและแก้ไขแต่ต้น เช่น มะเร็งปากมดลูก พร้อมให้คำแนะนำการปฏิบัติตนด้านต่างๆเช่น การคุมกำเนิด เป็นต้น

         การคุมกำเนิด


ภายหลังคลอด ควรเว้นการมีบุตรอย่างน้อย 2 ปี เพื่อมีเวลาดูแลบุตรอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งให้ร่างกายและอวัยวะภายในมีช่วงเวลาในการฟื้นฟูอย่างสมบูรณ์เต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง      4-6     สัปดาห์หลังคลอด ควรมีการ
คุมกำเนิดอย่างเหมาะสม ซึ่งมีหลายวิธีทั้งแบบชั่วคราวและถาวรให้เลือกสำหรับ
ผู้ชายและผู้หญิง แบบชั่วคราวสำหรับผู้หญิง ได้แก่ การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด วิธีนี้ผู้ที่ให้ลูกกินนมแม่ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพราะยาคุมบางชนิดอาจทำให้มีน้ำนม
น้อยลง การกินยาคุมกำเนิดให้ได้ผลต้องกินเป็นประจำและตรงเวลา แต่สำหรับผู้ที่
ไม่สะดวกในการใช้ยาคุมแบบกิน การฉีดยาคุมกำเนิดก็นับว่ามีความสะดวกเพราะ
ฉีดเพียงครั้งเดียวสามารถคุมได้ถึง  3 เดือน และไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะลืมกินยา
สำหรับผู้ที่ต้องการคุมแบบชั่วคราวแต่มีระยะเวลานานอาจใช้วิธีคุมโดยการใส่
ห่วงอนามัยที่สามารถคุมได้นาน 3-5 ปี หรือจะใช้การฝังยาคุมกำเนิดก็ได้ ซึ่ง
สามารถคุมได้นานถึง  3-5  ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของห่วงอนามัยและ ยาฝังคุมกำเนิด
สำหรับผู้ชาย การคุมกำเนิดด้วยการสวมถุงยางอนามัย เป็นวิธีที่สะดวก นอกจากจะคุมกำเนิดแล้ว ยังช่วยป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปยังผู้หญิง  และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆเช่น  เอดส์ได้ด้วย


อาการผิดปกติที่ต้องกลับมาพบแพทย์




1.       มีไข้ และมีอาการอักเสบของอวัยวะอื่นร่วมด้วย
2.       ปัสสาวะแสบขัดอาจเกิดจากการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากดูแล
ความสะอาดช่องคลอดและอวัยวะสืบพันธุ์ไม่ดีพอ
3.       ปวดศีรษะบ่อยและเป็นเวลานานอาจเกิดจากความดันโลหิตสูงพักผ่อนไม่
เพียงพอหรือเครียดจากการคลอด
4.       มีเลือดออกทางช่องคลอดส่วนมากจะเกิดจาก
แผลในโพรงมดลูกบริเวณที่รกเกาะเนื่องจากมดลูกหด
รัดตัวไม่ดี หรือมีเศษรกตกค้างในโพรงมดลูก
5.       น้ำคาวปลาผิดปกติ สีไม่จางลง จำนวนไม่ลดลง
มีก้อนเลือดออกมาหรือมีกลิ่นเหม็น
6.       มดลูกเข้าอู่ช้า หลังคลอด 2  สัปดาห์ไปแล้ว
ยังสามารถคลำพบมดลูกทางหน้าท้อง
7.       กรณีผ่าคลอด แผลที่เย็บมีอาการ อักเสบ ปวด
บวม    แดง

หากพบอาการเหล่านี้ให้รีบมาพบแพทย์ อย่าไม่สนใจเพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อ
ทารกน้อยด้วย


การบริหารร่างกายหลังคลอด


ในภาวะปกติร่างกายคนเราควรออกกำลังกายเพื่อให้ระบบต่างๆ  เช่น ปอด หัวใจกล้ามเนื้อ ข้อต่อ การไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดี สำหรับคนที่เพิ่งคลอดบุตรการออกกำลังกายก็ยังจำเป็นเพื่อให้การขับของเสียต่างๆเช่นน้ำคาวปลาเป็นไปโดยสะดวกการเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น     ฝีเย็บ  กล้ามเนื้อในเชิงกรานกล้ามเนื้อหน้าท้องดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การออกกำลังกายของผู้ที่เพิ่งผ่านการคลอดมีข้อควรปฏิบัติคือผู้ที่คลอดทางช่องคลอดควรพักผ่อนร่างกายอย่างน้อย 6-8ชั่วโมงมาแล้วจึงสามารถออกกำลังกายเบาๆได้

ส่วนผู้ที่ผ่าคลอดควรให้ร่างกายพักผ่อน 3-6วันก่อนและต้องงดการออกกำลังกายแบบหักโหมหรือยกของหนักจนกว่าจะพ้นช่วง 6-8 สัปดาห์ไปแล้วข้อควรระวังอย่างยิ่งคือ ห้ามออกกำลังกายในท่านอนคว่ำเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดภาวะลมอุดตันในเลือดได้

ประโยชน์ของการออกกำลังกายหลังคลอด

1.      ทำให้น้ำคาวปลาไหลดี
2.      ทำให้แผลฝีเย็บหายเร็วขึ้น
3.      ทำให้มดลูกมีการบีบตัวและเข้าอู่ได้เร็วขึ้น
4.      ทำให้กล้ามเนื้อเอ็นและข้อต่อต่างๆ   มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นดี
5.     ทำให้กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจทำงานได้ดีขึ้นปอดขยายตัวดีขึ้นและการทำงานของหัวใจ ดีขึ้น
6.       ช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำนม ทำให้มีน้ำนมออกมาเป็นจำนวนมาก
เพียงพอแก่การเลี้ยงดูบุตร
การออกกำลังกายให้ได้ผลดีควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ3วันวันละประมาณ 30 นาที

การสังเกตุลูกน้อยหลังกลับบ้าน

  อย่าปล่อยให้ช่วงเวลา 1 เดือนแรกหลังคลอดพุ่งผ่านไปอย่างรวดเร็วจนเราหัวหมุน เพราะอันที่จริง มีสิ่งต่างๆ ที่เราต้องทำ เรียนรู้ และปรับตัวกับลูกรักวัยแบเบาะของเรามากมายนัก

          นับตั้งแต่ลูกแรกเกิดจนอายุครบ 1 เดือน เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวิถีชีวิตของครอบครัว จากที่เคยมีกันอยู่สองคน (ถ้าเพิ่งจะมีลูกคนแรก) ก็มีสมาชิกตัวเล็ก ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่ง เป็นหนึ่งเดียวที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง จะพูดจาสื่อสารกับใครก็ยังไม่ได้ ได้แต่ร้องไห้ จะกินจะนอนอย่างไร ชอบให้อุ้มอย่างไร ล้วนเป็นปริศนาที่แสนท้าทายสำหรับพ่อแม่ที่จะต้องค่อย ๆ สังเกต และปรับตัวให้เข้ากับสมาชิกตัวน้อยคนนี้

          ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่มาพบหมอครั้งแรกตามนัด 1 เดือน จึงเป็นเวลาที่คุณพ่อคุณแม่จะได้พูดคุย ถามไถ่ข้อสงสัย เพื่อคลายความกังวล ส่วนคุณหมอจะได้ตรวจร่างกายลูก เพื่อดูการเจริญเติบโต และพัฒนาการว่าเป็นไปตามวัยหรือไม่ รวมถึงแนะนำเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับทารกวัยนี้ด้วย

          ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบและใส่ใจ เพื่อการดูแลลูกแรกเกิดในเดือนแรกนี้ค่ะ

การนัดมาตรวจหลังจากกลับบ้าน

          หลังจากนำลูกกลับบ้าน ในช่วงสัปดาห์แรก จะเป็นช่วงที่ทุกคนปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตใหม่ที่มีลูกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ถ้าทั้งพ่อและแม่ช่วยกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ศึกษาและสังเกตลูก จะทำให้การปรับตัวค่อยเป็นค่อยไปอย่างราบรื่น

          ถ้าลูกคลอดโรงพยาบาลของรัฐ คุณหมอมักจะนัดเมื่อครบ 1 เดือน (บางแห่งนัด 2 เดือน) แต่ในช่วงระหว่างนั้นจะมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไปเยี่ยมบ้าน เพื่อแนะนำการเลี้ยงดู แต่สำหรับคลินิกและโรงพยาบาลเอกชน หมอมักจะนัดกลับมาดูหลังจากกลับบ้านประมาณ 7 วัน เพื่อดูเรื่องต่อไปนี้ค่ะ

มีตัวเหลืองหรือไม่?

          ทารกที่กลับบ้านเร็วก่อนอายุ 4 วัน อาจจะยังไม่เห็นตัวเหลืองในวันที่กลับบ้าน เพราะอาการตัวเหลืองที่เกิดเป็นปกติในทารกแรกเกิดจะเริ่มเห็นตั้งแต่วันที่ 3-4 การนัดกลับมาดูในช่วงนี้ เพื่อดูว่าตัวเหลืองหรือไม่ เหลืองมากน้อยเพียงใด ถ้าดูเหลืองมากอาจจะต้องเจาะเลือดเพื่อดูระดับสารเหลืองและหาสาเหตุ

สะดือแห้งดีหรือไม่?

          หลังคลอดมักจะแนะนำให้เช็ดตัวทารกไปก่อน จนกว่าสะดือจะหลุดจึงค่อยลงอาบน้ำในอ่างน้ำ ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดสะดือ โดยดึงสะดือขึ้นจนเห็นรอยต่อระหว่างสะดือกับผิวหนัง และเช็ดบริเวณนั้นให้สะอาด ถ้าสะดือหลุดแล้ว อาจมีเลือดซึมเล็กน้อยและหยุดไปเอง บริเวณตอที่สะดือเพิ่งหลุดออกไป จะมีสีเหลือง ๆ ดูเปียกเยิ้มอยู่สักวันสองวัน แล้วจะแห้งกลายเป็นผิวหนังปกติในที่สุด

การกินนมเป็นอย่างไร?

          คุณแม่ที่ต้องการให้ลูกได้นมแม่ ควรให้ลูกดูดนมแม่อย่างเดียว โดยยังไม่ต้องให้นมอื่น หากช่วงนี้มีปัญหา จะได้ให้คำแนะนำและแก้ไขเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ หลังคลอด

          ปัญหาที่พบบ่อยคือ ความกังวลว่าน้ำนมแม่ออกน้อย กลัวลูกดูดไม่พอ (เพราะคุณแม่ไม่ได้เห็นกับตาว่าลูกได้นมเข้าไปเท่าไร) การที่น้ำนมแม่จะมีมากนั้นขึ้นกับการดูดของลูกโดยตรง ก่อนที่ลูกจะดูดนมแม่ได้คุณแม่ต้องอุ้มลูกให้ถูกท่าก่อนค่ะคืออุ้มให้ลูกตะแคงทั้งตัว ท้องลูกแนบท้องแม่ และปากลูกอยู่ระดับเดียวกับหัวนม

          ประการต่อมาคือลูกงับหัวนมเข้าในปากจนลึกมากพอที่เหงือกลูกจะไม่กดลงที่หัวนม และที่สำคัญคือคุณแม่ให้ลูกดูดนมแม่บ่อยเท่าที่ลูกต้องการ ในสัปดาห์แรกนี้อาจจะดูดกันทั้งวันทั้งคืน แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องกกกอดให้ดูดนมถี่เช่นนี้ตลอดไปนะคะ เพราะในเดือนที่สองแม่ลูกจะรู้ใจกันและปรับช่วงเวลาดูดนมให้เหมาะสมกันทั้งคู่ได้

 คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมแม่แต่ละข้างให้นานมากพอจนน้ำนมเกลี้ยงเต้า เพื่อที่ลูกจะได้น้ำนมส่วนต้นซึ่งมีน้ำมาก และได้น้ำนมส่วนท้ายที่มีไขมันมากด้วย น้ำนมส่วนท้ายนี้แหละค่ะที่ทำให้ทารกอิ่ม ถ้าลูกดูดข้างละไม่นาน ทำให้ลูกได้แต่น้ำนมส่วนต้น ยังไม่ได้ไขมันตบท้ายมื้ออาหาร จึงทำให้หิวบ่อยได้ค่ะ

การถ่ายอุจจาระเป็นอย่างไร?

          ทารกที่กินนมแม่มักจะถ่ายอุจจาระบ่อย วันละหลายครั้ง บางคนถ่ายอุจจาระหลังกินนมแม่ทุกครั้ง ทั้งนี้เพราะเมื่อลูกดูดนมแม่ จะมีการกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวขับอุจจาระออกมา ลักษณะอุจจาระจะเหลวคล้ายสังขยา สีเหลืองทอง เป็นอุจจาระปกติไม่ใช่ท้องเสียค่ะ

การอาบน้ำลูก



การอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย ทำให้ลูกรู้สึกสบาย ขณะอาบน้ำยังสามารถ
สังเกตสิ่งผิดปกติต่างๆในตัวลูก เช่น ผด ผื่น สำหรับเวลาในการอาบน้ำที่เหมาะสม
เป็นเวลาที่มีอากาศอบอุ่น ช่วงสาย หรือบ่าย
การเตรียมอุปกรณ์ในการอาบน้ำ
1. อ่างน้ำใส่น้ำอุ่น
2. สบู่เหลว (หรือสบู่ก้อน)
3. ผ้าหรือฟองน้ำ
4. ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ ผืนเล็ก
5. สำลีใส่น้ำต้มสุกสำหรับเช็ดตา
6. สำลี แอลกอฮอล์สำหรับเช็ดสะดือ

ขั้นตอนการอาบน้ำลูก
1. ล้างมือและแขนให้สะอาด ผสมน้ำอุ่นครึ่งอ่างใช้ข้อศอกจุ่มน้ำ เพื่อทดสอบ
ความอุ่นของน้ำให้พอดี

2. อุ้มลูกวางบนที่นอนที่มีผ้าขนหนูผืนใหญ่ปูรองไว้ถอดเสื้อผ้าออกห่อตัวลูกด้วยผ้าขนหนู
ให้กระชับ


3. เช็ดใบหน้าใบหู และซอกหู


4. ประคองศีรษะให้อยู่ในอุ้งฝ่ามือใช้แขนและศอกหนีบลำตัวลูกไว้ข้างเอว
ใช้นิ้วมือพับใบหู 2 ข้าง เพื่อป้องกันน้ำเข้าหู

5. ใช้ฟองน้ำชุบน้ำบีบให้หมาด ลูบให้ทั่วศีรษะของลูกหยดสบู่ 1-2 หยด ใช้นิ้วนวด
เบาๆ ให้ทั่ว แล้วล้างออกให้ สะอาด เช็ดศีรษะให้แห้ง

6. นำตัวลูกลงอ่าง โดยใช้มือจับที่รักแร้เด็ก ไหล่เด็กพาดบนแขนของแม่


7. ลูบตัวลูกให้เปียกด้วยฟองน้ำ ใช้สบู่ลูบตัวทีละ ส่วนของร่างกาย ตั้งแต่แขน ซอกคอ ลำตัว ขา แล้ว ล้างฟองสบู่ออกให้หมด

8. ใช้มืออีกข้างจับที่หัวไหล่โดยอุ้มคว่ำให้อกพาดที่แขนแม่ลูบสบู่ให้ทั่วหลังก้นและขาแล้วล้าง
ออกให้สะอาด

9. อุ้มลูกขึ้นจากอ่าง ซับน้ำให้แห้ง โดยเฉพาะตามซอก ข้อพับต่างๆ

10. เช็ดตาของลูกจากหัวตาไปหางตาทีละข้าง ด้วยสำลีชุบน้ำ
ต้มสุกที่เย็นแล้ว  2 ก้อน และใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดในรูจมูกทั้ง 2 ข้าง


11. ทำความสะอาดสะดือลูกด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์โดยเช็ดสะดือวนจากด้านในออกมา
ด้านนอก



12. แต่งตัวให้ลูกใส่เสื้อ ผ้าอ้อม และห่อตัวด้วยผ้าขนหนูหรือผ้าอ้อมผืนใหญ่
เพื่อความอบอุ่นของลูก กรณีที่ลูกตัวโต น้ำหนักมาก สามารถสระผมถูสบู่บนเบาะ แล้วอุ้มล้างตัวในอ่าง

ข้อควรระวัง
1. บริเวณที่อาบน้ำต้องไม่มีลมโกรก
2. อาบน้ำอย่างเบามือ นุ่มนวล เพราะผิวลูกบางและกระดูกเปราะง่าย
3. ไม่ใช้สบู่ทั้งก้อนถูตัวหรือศีรษะลูก
4. ไม่เกาหรือนวดบริเวณศีรษะลูก
5. ไม่ควรแช่ลูกในอ่างน้ำนานเกินไป เพราะจะทำให้ลูกหนาว
6. เช็ดตัวให้แห้งโดยวิธีซับ ไม่ถูหรือเช็ดแรง